เห็นบางเว็บเขียนไปแล้วก็เขียนบ้าง เพราะเขาบอกถ้าเห็นด้วยกับเขาก็ให้ลงความเห็นต่อท้าย (แต่ไม่ได้บอกว่าไม่เห็นด้วยให้ทำอะไร หุบปากไปซะรึเปล่า?)
เรื่องนี้เป็นเหตุเพราะ 3G มันทำอะไรได้มากกว่า 2G ก็เลยเป็นประเด็นว่า กทช. ซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาต แต่เป็นใบอนุญาต 2G เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของโทรคมนาคมเป็นหลัก แต่ 3G มันทำอะไรได้มากกว่า ซึ่งจะมีหน่วยงานอีกหน่วยงานที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันคือ กสช. ซึ่งทำหน้าที่ออกใบอนุญาตเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ, โทรทัศน์ ซึ่งเป็นส่วนประยุกต์เพิ่มเติมจากความสามารถของ 2G เดิม ถ้าไม่มี กทช. และ กสช. ก็คงจะวุ่นวายเพราะไม่มีใครสามารถออกใบอนุญาตที่ครอบคลุมความสามารถของ 3G ได้ในใบเดียว ก็เลยเป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญปี 50 (ที่บางคนไม่นิยม) เลยจับให้ กทช. และ กสช. มารวมกันเป็น กสทช. ซึ่งทำหน้าที่ได้ครอบคลุมสามารถออกใบอนุญาต 3G ได้
ส่วนที่เป็นดราม่าของเรื่องคือ ตั้งแต่ปี 2540 ยันปี 2549 ทำอย่างไร กสช. มันก็ไม่เกิดเสียที บางกระแสก็ว่าเจ้าที่แรงเลยเกิดไม่ได้ บางกระแสของคนในวงเล็บก็บอกว่าเพราะสีเขียวถือคลื่นมากสีเขียวเลยไม่อยากให้เกิด ก็ว่ากันไปแล้วแต่จะตั้งข้อสังเกตหรือกล่าวหาหรือจงใจเชื่อข้อมูลเช่นนั้น ปัจจุบัน ณ เวลาที่เขียนก็มีความผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับ กสทช. เข้าสภาไปแล้วถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็น่าจะผ่านวาระในสมัยประชุมสภานี้ แล้วก็รอตั้ง กสทช. ตามกระบวนการสรรหา
ผมเห็นด้วยกับการนำ 3G มาใช้และตระหนักถึงความสำคัญและโอกาสที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการนำ 3G มาใช้ ผมเห็นใจในความพยายามของ กทช. ที่พยายามผลักดันให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่นี้ขึ้น
ผมเห็นด้วยในสิ่งที่ศาลตัดสินในขั้นนี้ ผมคิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบแล้วต้องไปสะดุดทีหลัง ในเมื่อไม่ใช่หน้าที่ของ กทช. เราก็ควรจะรอให้คนที่มีหน้าที่มาจัดการในหน้าที่นี้ซะ เพราะผมเชื่อว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากการที่อนุมัติไปแล้ว แล้วต้องมายกเลิกอีกมันหนักกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนการประมูล เสียน้อย ๆ ดีกว่าเสียมาก ๆ (แต่ถ้าให้ดีก็ไม่ควรจะเสียทั้งน้อยทั้งมากนะ) แต่อย่าถามตัวเลขผมนะ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะต้องมานั่งนับตัวเลขพวกนี้ให้
CAT กับ TOT ก็ทำตามสิทธิของเขา และก็ตามหน้าที่ของผู้บริหารองค์กรที่ต้องรักษาผลประโยชน์องค์กร ถึงแม้ว่าจะมีบางความเห็นกระแนะกระแหนอย่างต่อเนื่องว่าผิดที่ผิดเวลา แต่ในเมื่อเราเคารพในสิทธิ เขาก็ใช้สิทธิของเขาแล้ว ส่วนหน้าที่ก็คือประเทศชาติที่บางคนอาจจะคิดว่าองค์กร อันนี้ก็แล้วแต่จะคิด แต่สุดท้ายผลประโยชน์ขององค์กรเหล่านี้ก็จะแปรกลับมาเป็นรูปเงินเข้าสู่รัฐอยู่ดี
แต่ที่อยากตำหนิก็คือ CAT กับ TOT ยังทำหน้าที่ของตัวเองดีไม่พอ ในคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไป กลับไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นั่นอาจจะเพราะระบบการบริหารงานที่ยังงง ๆ ว่า เป็นเอกชนที่ชักหอกชักดาบได้ไม่เต็มที่ เพราะมีหน้าที่ต้องดูแลสังคมอีก ซึ่งตรงจุดนี้คงต้องให้มีความชัดเจนในส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นรัฐว่าจะไม่เข้ามาแทรกแซงจนไม่สามารถบริหารได้อย่างที่เอกชนพึงจะเป็น
ผมให้กำลังพนักงาน CAT กับ TOT ครับ แต่ผมแค่อยากจะตำหนินโยบายระดับบริหารว่าควรจะมีความชัดเจนในพันธกิจ, หน้าที่ แล้วก็กล้าที่จะลุยมากกว่าที่เป็นอยู่ ให้มีการใช้งานคลื่นความถี่ที่ถือครองทำประโยชน์ให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด
ส่วนที่เจ็บที่สุดตอนนี้ถ้ายังคงคุ้มครองกันต่อไป ผมคิดว่าไม่ใช่ประชาชนอย่างที่มีมายาคติจากบางที่ที่พยายามสร้างกระแสให้เกิดภาพว่าประชาชนเสียหาย ก็ในเมื่อมันยังไม่เกิดแล้วจะเสียหายได้อย่างไร? มันไม่ใช่ภัยมิจฉาชีพที่คุกคามเราเสียหน่อย จะบอกว่าความล่าช้าคือความเสียหายอันนี้ก็แล้วแต่จะพูดเข้าข้างตัวเอง (เขาคงคิดแต่ว่าเสียโอกาส, ซึ่งนั่นก็คือเสียสิทธิ์จริงไหม?) ผมเชื่อว่าคนที่เจ็บที่สุดตอนนี้น่าจะเป็นค่ายสีแดงที่สัมปทานจะหมดก่อนใครเพื่อน ลองคิดดูว่าถ้าสมมติเรื่องมันลากยาวไปอีก 3 ปีแล้วหมดอายุสัมปทานไป ก็แปลว่าค่ายสีแดงต้องหยุดประกอบกิจการเรื่องมือถือไปโดยปริยาย ส่วนลูกค้าจะทำใจได้ไหมที่จะต้องถูกโอนไปให้ CAT ผมมองว่าตลาดจะเป็นตัวบอกเอง ถ้าไม่พอใจก็แค่เปลี่ยน ซึ่งก็คงไม่แตกต่างจากกรณีที่โปรโมขั่นไม่โดนใจฉันเลยย้ายค่ายอะไรพวกนั้น ถ้าบอกว่าลูกค้าเสียหายแปลว่าลูกค้าต้องทนกลืนโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อันนั้นแหละถึงจะเรียกว่าเสียหายจริง แต่กรณีนี้ลูกค้าก็เปลี่ยนไปเลือกสิ่งที่ลูกค้าพอใจสูงสุดได้ทุกเมื่อ
ผมว่าการท
ผมว่าการที่ 3G ยังไม่เกิดเสียที ถือเป็นการเสียโอกาสของประชาชน "ทุกสี" ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันวางอยู่บนเม็ดเงินและผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ "ไม่ว่าจะสีไหน"
ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้าไหนๆ ดราม่ามันก็ลากยาวกันมาได้เกือบ 10 ปี ลองลากไปอีกสัก 10 ปีจะเป็นไรไป หรือจะหักดิบบอกเลิกสัมปทานกันกลางทาง ยอมจ่ายค่าเสียหายไปเลย แล้วก็ดึงให้ทุกอย่างกลับมา อยู่ในความดูแลของ "2 บริษัท ที่มีภาครัฐกำกับ" เสียให้หมด เอกชน "ทุกสี" ถูกกีดกันออกไป ดูสิว่าประเทศนี้มันจะพัฒนากันไปทางไหน
@Poakpong ข้อแรก
@Poakpong
ข้อแรกผมไม่โต้แย้งแล้วกันครับ เป็นสิทธิที่จะเชื่อได้ แต่เอาไปอ้างกับศาล ศาลก็อาจจะไม่พิจารณารับฟัง ถ้าจากประโยคนั้นเราก็เสียโอกาสมาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 2001 ที่มีการใช้ระบบ 3G ครั้งแรกในโลกแล้ว
ประเด็นชวนคิด แล้วจะลากไปอีก 10 ปีทำไมล่ะ ในเมื่อถ้า กสทช. เกิด (ถ้ามันไม่ดราม่านะ) แล้วต้องดำเนินการซ้ำกับที่ กทช. เคยทำอีกซักรอบ (หรือว่าจะโอนสิ่งที่ กทช. เคยทำมาก่อนแล้วมาใช้ต่อได้เลย ไม่ต้องพิจารณาใหม่?) แล้วมันเสร็จภายใน 3-4 ปีก็ให้มันแค่ 3-4 ปี จะมาบอกว่าเพื่อความเท่าเทียมของทุกค่ายผมก็ว่า กสทช. จะถูกตำหนิว่ากินภาษีดำเนินการล่าช้าซิ (คาดว่าก็คงจะเป็นกลุ่มเดิมๆ ที่เคยด่า กทช. เมื่อหลายปีก่อนแต่ตอนนี้ก็มาเชียร์ กทช. ที่ทำให้เห็นว่าจะประมูลได้แล้วนะ) แล้วจะบอกว่าหักดิบก็ถามอีกว่าจะเอาเงินภาษีเราไปจ่ายค่าหักดิบทำไม? แบบนี้จะถือว่าการเมือง (รัฐบาล) เข้าไปแทรกแซงกระบวนการนี้หรือไม่? (ไม่รู้จะเป็นกลุ่มเดียวกับคนกลุ่มแรกที่กล่าวถึงหรือไม่? เพราะก็รู้สึกว่ามีส่วนเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง) รอช้าเสียหน่อยแต่ให้ทุกอย่างมันถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของมัน น่าจะส่งผลดีในระยะยาวนะครับ ผมไม่อยากเห็นว่าประมูลเสร็จแล้วมีมางอแงขอล้มประมูลในภายหลังด้วยเหตุว่าการประมูลมันผิดมาแต่ต้น
ผมก็หวังว่า TOT/CAT จะใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับสิทธิ์ในขณะนี้สร้างประโยชน์ให้มากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบันนะ แต่ไม่รู้ว่าหวังมากไปรึเปล่ากับการบริหารแบบงงๆ ของเขา
ไม่ดีเหรอครับ ดัน กสทช. ให้เกิดให้ได้ ความเชื่อว่าสีเขียวกร่าง จะได้รับการพิสูจน์เสียทีว่ามันจะน้อยลงไหม