Skip to main content

Mac OS X Snow Leopard

Resolution Independence ในมุมมองของผู้ใช้

Submitted by ezybzy on

จริง ๆ ฟีเจอร์นี้มันอยู่ใน Mac OS X อยู่แล้วแต่ไม่ถูกเปิดเผยต่อผู้ใช้ทั่วไป สามารถเปิดลองใช้ได้ด้วยการเปิดโปรแกรม Quartz Debug แล้วทำการปรับค่า UI Resolution ที่หลบอยู่ในเมนู Window อีกชั้น

สำหรับใน Snow Leopard ตัว Resolution Independence จะทำงานแค่เฉพาะในช่วงเวลาที่โปรแกรมนี้ทำงาน แต่ใน Lion นั้นได้เปลี่ยนวิธีคิด ไม่สามารถปรับความละเอียดได้แบบใน Snow Leopard แล้ว แต่จะมีสิ่งที่เรียกว่า HiDPI ซึ่งก็คือความละเอียด 2 เท่าแบบ Retina Display ของ iOS นั่นเอง และดูเข้าท่ากว่าใน Snow Leopard อีกเนื่องจากเป็นอิสระจากโปรแกรม Quartz Debug แล้ว เมื่อทำการเปิดคุณลักษณะนี้ใน System Preferences หัวข้อ Display จะมีความละเอียดหน้าจอเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความละเอียดหน้าจอเดิมหารสอง แล้วมีวงเล็บตอนท้ายว่า HiDPI

สำหรับผู้ใช้ถ้าลองไปเปิดเล่น ก็จะพบกับหน้าจอความละเอียดต่ำ ที่อาจจะรู้สึกว่าตัวอักษรคมขึ้น หากหน้าจอที่ใช้ความละเอียดดังกล่าวเป็นหน้าจอที่มี PPI สูง (จอคอมพิวเตอร์ปกติมีค่า 72) ซึ่งหากเป็นจอปกติ ภาพที่ได้ก็ดูไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไร ภาพที่ได้ก็จะแตก ๆ น่าเกลียด ๆ เนื่องจากตาของเรายังไม่ถูกลวงเหมือนกับที่เกิดขึ้นบนจอ iPhone 4/iPod touch 4 แต่หากได้จอภาพความละเอียดสูงมาทดสอบ ก็จะเกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกับจอของ 2 อุปกรณ์ที่กล่าวมา ภาพต่าง ๆ ก็จะดูคมชัดขึ้น (หากมีการปรับแต่งภาพที่เหมาะสมกับจอความละเอียดนี้ไว้), รวมถึงแบบตัวอักษรที่จะดูคมชัดสวยงามราวกับหมึกพิมพ์บนกระดาษ

เน้นว่า ถ้าไม่มีจอที่มีค่า PPI สูง การทำ HiDPI จะไม่สามารถลวงตาเราได้ ผลที่ออกมาจะดูเหมือนการลดความละเอียดหน้าจอเท่านั้น จะไม่สามารถสัมผัสได้ถึงความคมชัดของภาพและตัวอักษรที่มีมากขึ้น

ปรับแต่งแผ่น Mac OS X Snow Leopard แผ่นเทาให้ใช้ได้กับ Mac ใด ๆ ที่สนับสนุน

Submitted by ezybzy on

UPDATE: ได้เห็นผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย หาก OS Update มีการตรวจสอบรุ่นเครื่องอย่างละเอียด (เช่นกรณี 10.6.7 ที่ออกมาสำหรับเครื่องรุ่นก่อน MBP Early 2011 และรุ่นเฉพาะสำหรับ MBP Early 2011) ซึ่งหากติดตั้งด้วยวิธีที่เสนอนี้ จะพบปัญหาคือไม่สามารถใช้อัพเดตตัวใดได้เลย และหากฝืนติดตั้ง OS Update ตัวใดตัวหนึ่งก็จะไม่สามารถติดตั้งได้ และอาจจะทำให้เครื่องไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น โปรดใช้วิธีนี้ด้วยความระมัดระวัง

ข้อเขียนนี้ขอจำกัดอยู่แค่ Mac OS X Leopard และ Snow Leopard เท่านั้น เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบการติดตั้ง OS X ในแต่ละรุ่นของระบบปฏิบัติการมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ ทำให้ไม่สามารถรับประกันได้ว่าวิธีนี้จะนำไปใช้กับ Lion ได้หรือไม่ (ถ้า Lion ยังใช้วิธีตรวจสอบวิธีเดียวกับที่พบเห็นในแผ่น Beta ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้)

ตั้งค่า Mail ให้กับ Gmail ให้เหมาะสมกับ Mail.app บน Mac OS X

Submitted by ezybzy on

เปิดอ่าน macstories.net แล้วไปเจอบทความหนึ่งพอมาลองใช้งานดูจริงพบว่าใช้ได้เลย มีความรู้สึกดีราวกับใช้ Google Sync บน iPhone เลยทีเดียว

อ่านวิธีติดตั้งได้ที่นี่

พิมพ์ตัวเปลี่ยนเสียงสระไวไว

Submitted by ezybzy on

ใช้แมคในเยอรมัน บางทีเราก็อยากจะรีบๆ พิมพ์ภาษาเยอรมันไวไวเหมือนกัน แต่การจะต้องไล่สลับ Keyboard layout ไปมาเป็นภาษาเยอรมันดูช่างเป็นเรื่องที่น่าวุ่นวายเสียจริงๆ (บางทีผมก็ตั้งใจพิมพ์ผิดไปเลยนะเพราะขี้เกียจสลับ) มาเจอคำแนะนำหนึ่งจาก Macosxhints ก็พบว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียวแถมไม่ต้องดัดแปลงระบบอะไรให้วุ่นวายด้วย

วิธีคือ แค่เราตั้ง Keyboard layout เป็น US International PC แทนที่ US แบบเดิม แล้วก็จำไว้แค่ว่า

  • ตัว ' จะกลายเป็นขีดเอียงขวา (Acute)
  • ตัว ` จะกลายเป็นขีดเอียงซ้าย (Grave Accent)
  • ตัว " จะกลายเป็น Umlaut
  • ตัว ~ จะกลายเป็นตัวหนอนบนตัวอักษร (Tilde)
  • ตัว ^ จะกลายเป็นตัวหมวกบนตัวอักษร (Hachek)

กดตัวอักษรข้างบนแล้วตามด้วยตัวสระอักษรลาติน (a, e, i, o, u) ก็จะได้ตัวเปลี่ยนเสียงอย่างที่เราต้องการทันที แต่ก็เหมือนยังขาดบางตัวเหมือนกัน

สำหรับ HTML ก็มีตัวอักษรพิเศษเหมือนกัน ตัว Diacritics พวกนี้ดูอ้างอิงได้จากที่นี่ สำหรับตัวอักษรแต่ละตัวดูที่นี่ มีข้อสังเกตคือสามารถใช้ & โดย คือตัวอักษร (ใหญ่หรือเล็กก็ได้) และ เป็นตัว Diacritics ที่จะใช้

Why is iTunes binary a 32-bit application?

Submitted by ezybzy on

For 7 months since a release of Snow Leopard in August 2009, not all bundled applications are 64-bit capability. One of that is a flagship application, iTunes. iTunes is an all-in-one application for iDevice syncing (iPod, iPhone, and iPad), media management, and media purchasing via iTunes Store.

So what is wrong with that? The problem is iTunes user interface that still uses Carbon. Because Apple has deprecated 64-bit Carbon user interface in Leopard. iTunes depends on a lot of Carbon user interface elements, ie. Apps list in iPhone Apps tab. I don't know design decision, why not moving to Cocoa. One of possible reasons is for platform compatibility because iTunes runs on Tiger, Leopard, and Snow Leopard. Cocoa in Tiger is outdated comparing with Leopard and Snow Leopard. Creating user interface elements with an outdated Cocoa may be difficult when comparing with Carbon. It may be too complex even Apple doesn't want to refactor it!

I hope a future version of iTunes will be a 64-bit application. I don't know why should it be but iTunes uses more and more resources. It is too big when comparing with the original iTunes.

ล้าง Extended Attribute ใน Mac OS X Leopard และ Snow Leopard

Submitted by ezybzy on

เมื่อเราใช้คำสั่ง ls -l ใน Mac OS X Leopard เราจะพบกับ permission bits ตามปกติ แต่เราอาจจะเจอสัญลักษณ์พิเศษด้านหลังคือ @ เช่น

-rw-r--r--@

(บิทแรกเป็นบอกชนิด ถ้าเป็น d คือ Directory, l คือ Symbolic link)

ทีนี้ปัญหากวนใจที่ผมพบเมื่อเปิดโปรแกรมบางตัวคือ เวลามันทำ Font index ภายในโปรแกรมมันเอง (มีซักกี่ตัวที่มีระบบจัดการฟอนต์เป็นพิเศษเพื่อตัวมันเองหนอ?) มันจะมีไดอะล็อกเด้งขึ้นมากวนใจผมว่า “โปรแกรม___จะทำการใช้งานฟอนต์___ซึ่งดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต อนุญาตให้โปรแกรม___ใช้งานฟอนต์ตัวนี้ไหม?” โอเคถ้าแค่ฟอนต์ตัวเดียวก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ามันเด้งแบบนี้ซักร้อยทีล่ะ กด Allow กันมือหงิกเลย แถมถ้าต่างโปรแกรมมันก็จะถามคำถามนี้อีก โอ้ยใครจะไปกดไหว สาเหตุจริงๆ เกิดจากการที่ Mac OS X เริ่มจะฉลาดคือเริ่มหยั่งรู้ว่าไฟล์บางไฟล์ถูกดาวน์โหลดผ่านบราวเซอร์และทำการ Mark ค่าบางอย่างคือ com.apple.quarantine ไว้บนไฟล์นั้น เมื่อทำการเปิดไฟล์ดังกล่าวและทำการติดตั้งไฟล์เหล่านั้นลงในเครื่อง (เช่นลากโปรแกรมออกจาก Disk Image) ค่านี้ก็จะตามไปด้วยแล้วทำให้เกิดคำถามในครั้งแรกที่เปิดเรียกใช้งานไฟล์/โปรแกรมที่ติดตั้งไปว่า “โปรแกรม___ถูกดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตด้วย___เมื่อ___ จะเปิดใช้งานไหม?” ซึ่งเมื่อกดยอมรับ โปรแกรมก็จะเปิดใช้งานได้และจะไม่ถามคำถามนี้อีกเลยจนกว่าจะถูกติดตั้งเวอร์ชั่นใหม่ทับด้วยวิธีเดิม

วิธีแก้ใช้คำสั่ง xattr ตามด้วยพารามิเตอร์ -d com.apple.quarantine ตามด้วยชื่อไฟล์ที่ต้องการลบค่านี้ออก อาจจะเพิ่ม -R ไว้หลัง -d เพื่อจะ recursive เข้าไปในไดเรคตอรี่ที่ต้องการลบค่าด้วย

Terminal Setting

Submitted by ezybzy on
ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆ นี่เป็นค่าที่ผมมักจะตั้งไว้ใช้งานใน Terminal เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบ้างบางประการ

My Snow Leopard checklist

Submitted by ezybzy on

ตามข่าวจากหลายๆ เว็บไซต์คงทราบกันดีกว่า Snow Leopard มันหลุดมาให้ได้ใช้กันแล้ว

ทีนี้เนื่องจากมันเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกแก้ไขจากระดับด้านหลังบ้านเสียเยอะ และมีความพยายามผลักดัน 64 บิตแบบสุดๆ ก็เลยต้องเอามาลองกับโปรแกรมที่ใช้งานเป็นประจำเสียหน่อยว่ามันจะอยู่รอดปลอดภัยดีไหม

ตัวแรกที่ลองคือ Eclipse ซึ่งเป็น IDE หลักที่ผมใช้พัฒนางานที่แลป เนื่องจากไปดาวน์โหลดรุ่น x64 มาใช้ แล้วก็ลองนำมาเปิดบนทั้งโหมด 32 และ 64 บิตแล้ว เปิดใช้งานได้ตามปกติดี แต่ยังไม่ได้ลองเปิด plug-in ตัวที่ต้องลอง แต่น่าจะใช้งานได้ตามปกติ